เจ้าของโครงการ
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA)
ลักษณะโครงการ
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสังคมผู้สูงวัยที่เติมโตเร็วที่สุด และอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจผู้สูงวัย โดยประชากรเกือบ 20% มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 คนไทย 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงวัย (สศช, 2565) ประเทศไทยจึงเผชิญกับความท้าทายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขาดแคลนแรงงาน ความต้องการด้านการดูแลด้านสุขภาพ และความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในหมู่ผู้สูงวัย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เป็นการศึกษาเพื่อ
1) ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในเศรษฐกิจผู้สูงวัยของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ รวมถึงหน่วยงานของรัฐ องค์กรนอกภาครัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคเอกชน และประชากรผู้สูงวัย โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องภายในกรอบแผนพัฒนาประชากรระยะยาว (2565 – 2580) และ
2) เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรต่อเศรษฐกิจผู้สูงวัยในประเทศไทย โดยเน้นที่แนวโน้มผู้สูงวัย การเปลี่ยนแปลงของกำลังแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
ขอบเขตการทำงาน
- ทบทวนวรรณกรรม
- ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- พัฒนาแบบสอบถาม
- เก็บข้อมูล
- วิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานและการนำเสนอ
ระยะเวลาดำเนินงาน
กันยายน 2567 – มีนาคม 2568