ที่ตั้งโครงการ
ชายหาดบริเวณเขาหลัก ถึงแหลมปะการัง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
เจ้าของโครงการ
กรมเจ้าท่า
ลักษณะโครงการ
จังหวัดพังงา มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงจํานวนมากและหลากหลาย โดยทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นเป็นกลุ่มชายหาดและชายทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายหาดเขาหลัก อําเภอตะกั่วป่า ซึ่งเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ปัจจุบันพื้นที่ประสบปัญหาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด และหลังจากเกิดเหตุการณ์พิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิในปีพ.ศ. 2547 ชายหาดกลับถูกกัดเซาะ และถดถอยหายไปทุกๆ ปี ไม่กลับคืนมาเหมือนอย่างที่เคยเป็น ผู้ประกอบการจึงได้ปกป้องที่ดินและทรัพย์สินของตนเองด้วยการก่อสร้างกําแพงคอนกรีตกันคลื่น (Seawall) ริมชายหาด ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งทําให้สถานการณ์เลวร้ายลง เป็นอัตราการกัดเซาะชายหาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ดังนั้นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งดังกล่าว จึงเป็นปัญหาสําคัญลําดับต้นของจังหวัดพังงา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นสถานที่สําคัญในระดับประเทศและระดับนานาชาติ จะต้องดําเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนลดผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรชายฝั่งที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว เช่น ชายหาด และป่า ชายหาด เป็นต้น
กรมเจ้าท่าได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งดังกล่าว และได้สำรวจตรวจสอบแล้ว เห็นสมควรที่จะดําเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน ตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จึงได้จัดจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วยบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด (COT) และบริษัท โกลเด้น แพลน จำกัด (GP) ดำเนินงานศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะสนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักถึงแหลมปะการัง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เริ่มต้นจากเขาหลัก หรือบริเวณเขาหลักซันเซ็ท รีสอร์ททางด้านทิศใต้ ครอบคลุมชายหาดถึงบริเวณแหลมปะการังทางด้านทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร โดยมีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
1) การสำรวจและการศึกษาด้านวิศวกรรมชายฝั่ง
2) การศึกษาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
3) การวางแผนและออกแบบรายละเอียด
4) การศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5) การประชาสัมพันธ์และประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็น
ขอบเขตการทำงาน
1) ศึกษาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
2) ศึกษารายละเอียดโครงการ และจัดทำรายงานการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานผู้พิจารณา
3) ประชาสัมพันธ์และประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็น
ระยะเวลาดำเนินงาน
พฤษภาคม 2564 – พฤศจิกายน 2565