Projects - โครงการประเมินผลประโยชน์และผลกระทบของโครงการที่แล้วเสร็จ โครงการปรับปรุงและก่อสร้างถนน ช่วงบ้านฮวก (จ.พะเยา) เมืองคอบ-เมืองเชียงฮ่อน และเมืองคอบ-บ้านปากคอบ-บ้านก้อนตื่น สปป.ลาว

Project Description

 

เจ้าของโครงการ

สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.)

 

ลักษณะโครงการ

สพพ. เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีภารกิจหลักในการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูแบบเงินให้เปล่า (Grant) และเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (Concession Loan) สำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สนับสนุนและส่งเสริมนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และช่วยส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน  ซึ่งโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ สพพ.ทุกโครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จและสิ้นสุดการเบิกจ่ายเงินต้องได้รับการประเมินและจัดทำรายงานปิดโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ของ สพพ.ร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการ ความสำเร็จและผลกระทบของโครงการ  และเมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จและสิ้นสุดการเบิกจ่ายเงินครบ 3 ปี ต้องประเมินและจัดทำรายงานประเมินผลประโยชน์และผลกระทบของโครงการ โดย สพพ.ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาภายนอกเป็นผู้ดำเนินการ   ซึ่งโครงการนี้ สพพ. มอบหมายให้ บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด เป็นปรึกษาภายนอกดำเนินงานดังกล่าว

โครงการปรับปรุงและก่อสร้างถนนช่วง บ้านฮวก (จ.พะเยา) เมืองคอบ-เมืองเชียงฮ่อน และเมืองคอบ-บ้านปากคอบ-บ้านก้อนตื่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 2 เส้นทาง แนวเส้นทางที่ 1 บ้านฮวก-เมืองคอบ-บ้านปากคอบ ระยะทาง 52.62 กิโลเมตร และแนวเส้นทางที่ 2 เมืองคอบ-เมืองเชียงฮ่อน ระยะทาง 54.93 กิโลเมตร  โดยโครงการได้รับความเหลือทางวิชาการในรูปแบบของเงินให้เปล่า (Grant) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโรงการและจัดทำแบบรายละเอียดของงานก่อสร้าง (Detailed Design) และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว วงเงิน 1,390 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนในอัตราร้อยละ 80 และ เงินให้เปล่าร้อยละ 20 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 แล้วเสร็จวันที่ 13 พฤษภาคม 2562

 

ขอบเขตการทำงาน

  • ประเมินผลประโยชน์และผลกระทบ ด้านความเหมาะสมและสอดคล้อง (Relevance) ความสอดประสาน(Coherence) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ผลกระทบ (Impact) และความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability)
  • ประเมินความคุ้มค่า ความต้องการ และศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากโครงการให้เต็มที่
  • ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อโครงการและประเทศไทย
  • ประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยภายหลังจากโครงการแล้วเสร็จ
  • จัดทำบทเรียนและข้อเสนอแนะของโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของ สพพ.

 

ระยะเวลาดำเนินงาน

มีนาคม – ตุลาคม 2567