ที่ตั้งโครงการ
สปป.ลาว และกัมพูชา
เจ้าของโครงการ
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
ลักษณะโครงการ
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน) หรือที่มีชื่อย่อว่า “สพพ.” เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีภารกิจหลักในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความร่วมมือในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ด้านคมนาคมขนส่ง และการพัฒนาเมือง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 สพพ. มีโครงการความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. ที่แล้วเสร็จครบ 3 ปี จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาและปรับปรุงถนนห้วยโก๋น/เมืองเงิน-ปากแบ่ง สปป.ลาว และโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 67 (R 67) อันลองเวง – เสียมราฐ ดังนั้น สพพ. จึงได้กำหนดแผนงานด้านการประเมินผลกระทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของประเทศไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านขึ้น
มูลค่าการก่อสร้าง
4.750 ล้านบาท
มูลค่าที่ปรึกษาโครงการ
2.612 ล้านบาท
ขอบเขตการทำงาน
การประเมินผลกระทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของประเทศไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 67 (R 67) อันลองเวง – เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยมีขอบเขตการดำเนินงานหลักๆ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการสำรวจสภาพข้อเท็จจริงของเส้นทางคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคภาพรวมของการพัฒนาตามแนวพื้นที่โครงการ
(2) ศึกษาและประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของประเทศผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเหมาะสมสอดคล้องของโครงการในการรองรับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
(3) ศึกษาและประเมินความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของโครงการ
(4) ศึกษาและประเมินผลประโยชน์และผลกระทบของโครงการที่แล้วเสร็จ โดยเปรียบเทียบกับนโยบาย และขอบเขตการดำเนินงานที่คาดหวัง
(5) ศึกษาและประเมินผลประโยชน์และผลกระทบทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การลงทุน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
(6) ศึกษาและประเมินความยั่งยืนของโครงการ
(7) ศึกษาและประเมินความคุ้มค่าของโครงการทั้งทางเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม ประเมินความคุ้มค่าของเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงการประเมินความต้องการและศักยภาพของการพัฒนา ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหรือพัฒนาโครงการ
(8) ประเมินความสัมพันธ์ ความพึงพอใจ ความเห็น และทัศนคติที่มีต่อประเทศไทย จากการให้ความช่วยเหลือโครงการดังกล่าว
(9) สรุปปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ การบริหารโครงการ และข้อจำกัดในพื้นที่โครงการ รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ไขและการใช้ประโยชน์ เพื่อความยั่งยืนและเพื่อเป็นบทเรียน แก่โครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงในอนาคต
(10) การจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็น
ระยะเวลาดำเนินงาน
มีนาคม 2557 – สิงหาคม 2557