10 เทคนิคระบายความร้อนให้ “บ้านเย็น”
1. ลดความร้อนจาก “หลังคา”
เพราหลังคาเป็นปราการด่านแรกที่ต้องเจอกับแสงแดด และความร้อน ดังนั้นการที่เราช่วยลดความร้อน หรือสะท้อนความร้อนบางส่วนออกไปจากโถงหลังคาก็จะช่วยให้บ้านของเราเย็นขึ้นได้ ซึ่งการลดความร้อนก็อาจทำได้หลายวิธี เช่น การติดสปริงเกอร์พรมน้ำบนหลังคา แม้อาจจะไม่สวยงามตาซักเท่าไหร่นัก แต่ก็ช่วยลดความร้อนได้ค่อนข้างดีทีเดียวเลย หรือการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้แผ่นหลังคา หรือใต้แป อย่าง “แผ่นสะท้อนความร้อนดูร่า” ก็สามารถช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 95% เลยทีเดียว
2. ระบายอากาศจาก “ฝ้าชายคา”
เราสามารถลดอุณหภูมิจากโถงหลังคาได้อีกหนึ่งวิธี นอกเหนือจากการติดแผ่นสะท้อนความร้อน นั่นก็คือการเพิ่มช่องที่ให้อากาศสามารถถ่ายเทไหลเวียนได้ดี ซึ่งจะช่วยให้อากาศร้อนจากโถงหลังคาระบายออกไปและแทนที่ด้วยอากาศที่เย็นกว่าจากลมที่พัดเข้ามา ด้วยการติดตั้งฝ้าระบายอากาศ เช่น “ดูร่าบอร์ด ระบายอากาศ” ซึ่งมีรูช่วยระบายอากาศได้ดี และยังมีหลากหลายแบบ และลวดลายให้เลือกให้เข้ากับการออกแบบบ้านอีกด้วย
3. เก็บความเย็นไว้ในห้อง ด้วย “ฉนวนกันความร้อน”
ฉนวนกันความร้อนคงจะเป็นสิ่งแรกๆที่หลายคนมักจะนึกถึงเมื่อต้องการทำให้บ้านเย็นใช่ไหม ซึ่งจริงๆแล้วฉนวนกันความร้อนมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ แบบอลูมิเนียมฟอยล์, แบบฉีดโฟม PU, แบบโฟม PE, แบบโฟมขาว และแบบฉนวนใยแก้ว โดยแต่ละชนิดจะมีคุณภาพกันความร้อน และราคาที่ต่างกันออกไป แต่หากจะพูดถึงประเภทที่กันความร้อนได้ดีที่สุดคงต้องยกให้แบบฉนวนใยแก้ว เนื่องจากสามารถลดความร้อนในห้องได้อย่างชัดเจน ติดตั้งง่าย รวดเร็ว และยังปลอดภัยเพราะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ และไม่ลามไฟ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดเสียงได้อีกด้วย ซึ่งฉนวนใยแก้วเองก็มีทั้งแบบปูบนแป และแบบปูบนฝ้า อย่างเช่น “ฉนวนใยแก้วดูร่า” ที่ใช้งานปูบนฝ้าเพดาน มีความหนา 2 นิ้ว และ 3 นิ้วให้เลือกนั่นเอง
4. ฝ้าเย็น ด้วย “แผ่นยิปซัม”
นอกจากเราจะใช้ฉนวนใยแก้วปูบนฝ้าแล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดความร้อนจากฝ้าให้ห้องของเราได้ ด้วยการใช้แผ่นยิปซัมที่ติดแผ่นสะท้อนความร้อนไปบนตัวแผ่นเลย เช่น “ดูร่ายิปซัมบอร์ด รุ่นทนร้อน” ที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 93.7% หรือเป็นผ้าแบบทีบาร์อย่าง “ฝ้ายิปซัมดูร่า รุ่นบ้านเย็น” ที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ 86%
5. ติดม่านบังแดดให้บ้าน ด้วย “ไม้บังตา”
นอกจากเราจะใช้ฉนวนใยแก้วปูบนฝ้าแล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดความร้อนจากฝ้าให้ห้องของเราได้ ด้วยการใช้แผ่นยิปซัมที่ติดแผ่นสะท้อนความร้อนไปบนตัวแผ่นเลย เช่น “ดูร่ายิปซัมบอร์ด รุ่นทนร้อน” ที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้มากถึง 93.7% หรือเป็นผ้าแบบทีบาร์อย่าง “ฝ้ายิปซัมดูร่า รุ่นบ้านเย็น” ที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ 86%
6. เลือกพื้นให้เย็น ด้วย “กระเบื้อง”
การเลือกใช้พื้นของบ้านด้วยกระเบื้อง หรือหินอ่อน หินแกรนิต หรือแม้กระทั่งพื้นปูนดิบสไตล์ loft นั้นก็ช่วยให้เรากักเก็บความเย็นจากพื้นได้ อีกทั้งยังเป็นวัสดีที่คายความร้อนได้เร็วอีกด้วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้หลายหลายตามดีไซน์ และงบประมาณ การที่เรามีพื้นที่ของบ้านส่วนหนึ่งเป็นพื้นเย็นแบบนี้ก็ช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้ไม่น้อยเลยนะ
7. เลือกใช้ผนังเย็น ด้วย “อิฐมวลเบา”
การเลือกใช้วัสดุที่มีค่าต้านทานความร้อนสูงมาทำผนัง อย่าง “อิฐมวลเบาดูร่า” เพราะอิฐมวลเบาถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าอิฐมอญถึง 7.3 เท่า สามารถป้องกันความร้อนจากภายนอก และรักษาความเย็นภายในได้ดีกว่า จึงสามารถลดภาระของเครื่องปรับอากาศ ช่วยคุณประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างดี แข็งแรง ติดตั้งไว รวมถึงสามารถกันเสียงจากภายนอก และเก็บเสียงจากภายในห้องได้ดีอีกด้วย
8. ป้องกันแสงและความร้อน ด้วย “ฟิล์ม”
เราควรทำการติดตั้งแผ่นฟิล์มกรองแสงที่กระจกของบ้านเรา เพื่อช่วยลดปริมาณแสง และความร้อนที่จะเข้ามาสู่ภายในบ้าน หรือเลือกใช้กระจกที่ทำการย้อมสีชา และควรติดม่านเพิ่มเติมเพื่อช่วยบังแสงอีกหนึ่งชั้น
9. เปลี่ยนไฟในบ้าน เป็น “หลอดประหยัดพลังงาน”
การเลือกใช้หลอดไฟส่องสว่างภายในบ้านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิในบ้านเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกับหลอดไส้ ซึ่งให้แสงสว่างที่สวยงาม นวลตา แต่ต้องแลกมากับความร้อนที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังกินไฟอีกด้วย การเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานอย่างหลอดตะเกียบ หรือที่นิยัมกันในปัจจุบันอย่างหลอดไฟ LED ซึ่งให้แสงว่างที่คงที่ อายุใช้งานยาวนาน ประหยัดพลังงาน และยังช่วยลดอุณหภูมิในห้องได้ดีกว่าอีกด้วย
10. เพิ่มลมให้ไหลเวียน ด้วย “พัดลมเพดาน”
“พัดลมบนเพดาน” ช่วยการหมุนเวียนของอากาศภายในบ้านได้ดี และเร็วที่สุดทางหนึ่ง เพียงเปิดหน้าต่าง แล้วเปิดพัดลมเพดาน นับหนึ่ง สอง สาม บริเวณดังกล่าวก็แทบไม่เหลือความร้อนใดๆ อยู่เลย แถมยังให้ความเย็นในวงกว้างอีกด้วย “พัดลมเพดาน” จึงนิยมติดตั้งในพื้นที่หลักๆ อย่าง ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับวิธีทำให้บ้านเย็น ท้าลมร้อนของเรา ซึ่งสามารถเลือกใช้และปรับปรุงได้ทั้งบ้านใหม่ และบ้านเก่าเลยนะ นอกจาก 10 เทคนิคนี้ยังมีวิธีอื่นๆอีก เช่นการปลูกต้นไม้ใหญ่ การจัดสวน การทาสีบ้านด้วยสีโทนอ่อน เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้บ้านของคุณ เย็นขึ้นได้แล้ว
ที่มา: Global House
พฤษภาคม 2567