การเคี้ยวเป็นการสร้างสิ่งกระตุ้น ด้วยการกระทบกันของปากและขากรรไกร ซึ่งถูกส่งเป็นสัญญาณไปกระตุ้นไฮโพทาลามัสและอะมิกดาลา ที่อยู่ใต้สมองใหญ่ช่วยเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน และพฤติกรรมการเคี้ยวโดยเฉพาะในผู้สูงอายุช่วยฟื้นฟูอาการสมองเสื่อม และเป็นประโยชน์ต่อพลังความทรงจำ ทำให้คงอยู่ยาวนาน แต่อาหารบางประเภทไม่ต้องเคี้ยว ก็สามารถส่งสัญญาณไปกระตุ้นสมองให้รู้สึกเป็นสุขได้โดยตรง คือ ประเภทของกินเล่นหรือ snack ซึ่งการกินต้องอาศัยการเคี้ยว ขณะที่ค่อยๆ เคี้ยวนั้น ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อยๆ สูงขึ้น สมองก็จะได้รับพลังงาน แต่ของกินเล่นทั้งหลายนี้แทบไม่จำเป็นต้องเคี้ยวก็รู้สึกอร่อยได้ หากกินแต่อาหารประเภทนี้ สมองจะขาดการกระตุ้นจากการเคี้ยว สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติก็จะเสียไป
แทบไม่มีอาหารชนิดไหนที่ได้พลังงานโดยไม่ต้องเคี้ยว นพ.โคอิชิโร ฟุจิตะ ผู้เขียน ได้แนะนว่า “อาหาร 1 คำ เคี้ยว 30 ครั้ง” แต่ถ้าเป็นอาหารกินเล่นหรืออาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ถ้าเคี้ยวถึง 30 ครั้ง อาหารในปากคงแชะเป็นน้ำ ชวนให้รู้สึกขยะแขยงจนอาจต้องบ้วนทิ้ง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ “เคี้ยวให้ละเอียด แต่ต้องไม่ใช่อาหารที่เคี้ยวแล้วมีรสชาติผิดแปลกไป”
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเรื่องของการใช้ของกินเล่นผ่อนคลายความเหนื่อยล้าในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเครียด ซึ่งกลับได้ผลตรงข้าม เพราะหากกินแต่ของกินเล่น แบคทีเรียในลำไส้จะลดลง ภูมิคุ้มกันก็ต่ำลง สมองไม่เพียงแต่สูญเสียการรับรู้รสชาติ ยังมีความเป็นไปได้ที่สมองอาจถูกกระตุ้นไม่มกพอจนเกิดภาวะเสื่อมถอยได้