‘อินเดีย’ ประกาศความสำเร็จในโครงการอวกาศอีกครั้งด้วยการส่งจรวดราคาประหยัดขึ้นสำรวจดาวอังคารเป็นประเทศแรกในเอเชีย
3 พ.ย. 56 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อินเดียจะส่งจรวดมังกลายาน ขึ้นสำรวจดาวอังคารในวันอังคาร (5 พ.ย.) โดยใช้เวลาในภารกิจนี้ราว 300 วัน และหากประสบผลสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สามารถส่งจรวดขึ้นสำรวจดาวแดงแห่งนี้ ก่อนหน้านี้อินเดียประสบความสำเร็จในการส่งจรวดไปยังดวงจันทร์มาแล้ว
นายดีพี คาร์นิค โฆษกองค์การอวกาศอินเดีย กล่าวว่า ระบบทุกอย่างสำหรับการส่งจรวดพร้อมแล้ว และมีการประเมินว่า ภารกิจนี้ที่ประกอบไปด้วยการเดินทาง ซึ่งต้องมีการปรับแก้ทิศทางมุ่งไปยังดาวอังคาร และการเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารเพื่อทำการสำรวจจะใช้เวลา 280 วัน
ที่ผ่านมามีเพียงจรวดและยานสำรวจ “มาร์ส โรเวอร์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศ (นาซา) แห่งสหรัฐอเมริกา และจรวดขององค์การอวกาศยุโรป สามารถเดินทางไปยังดาวอังคารได้ แต่ครึ่งหนึ่งของโครงการส่งจรวดไปยังดาวอังคารประสบความล้มเหลว
จรวดมังกลายาน จะบรรทุกเครื่องมือสำรวจชั้นบรรยากาศ และพื้นผิวดาวอังคารจากระยะไกล น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ขึ้นไปด้วย และจรวดลำนี้มีราคาราว 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,560 ล้านบาท) ซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 787 ดรีมไลน์เนอร์ ประมาณครึ่งหนึ่ง ยังสะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างจรวดราคาถูกที่ใช้ในภารกิจสำคัญ ทั้งนี้ เอมิลี ลักดาวาลลา แห่งสมาคมดาวเคราะห์ องค์กรเอกชนที่สนับสนุนการสำรวจและบุกเบิกอวกาศในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ถ้าอินเดียสามารถส่งจรวดไปโคจรรอบดาวอังคารได้ จะถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของทีมงานส่งจรวดไปยังดาวอังคารในครั้งนี้ คือ การปลุกให้เครื่องยนต์จรวดทำงานอีกครั้งหลังจากที่ดับเครื่องไปแล้วราว 300 วัน เพื่อให้จรวดเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ และความท้าทายของฉนวนที่บุตัวจรวดว่าจะทนทานต่อสภาพวิกฤติในอวกาศได้ตลอดภารกิจหรือไม่
นายคาร์นิค ยังกล่าวด้วยว่า การสำรวจดาวอังคารของยานมังกลายาน อาจจะเปิดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับดาวเคราะห์สีแดงแห่งนี้ เช่นเดียวกับที่ภารกิจจันทรายาน ที่อินเดียส่งจรวดและเครื่องมือขึ้นไปยังดวงจันทร์ตรวจพบว่ามีน้ำอยู่บนดวงจันทร์ และระบุว่า เป้าหมายหลักในการส่งจรวดมังกลายาน คือ การแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีของอินเดีย และเป้าหมายรอง คือ วัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์ เพราะอินเดียกำลังเรียนรู้ถึงวิธีการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ใช้เงินน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของทีมงานส่งจรวดไปยังดาวอังคารในครั้งนี้ คือ การปลุกให้เครื่องยนต์จรวดทำงานอีกครั้งหลังจากที่ดับเครื่องไปแล้วราว 300 วัน เพื่อให้จรวดเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ และความท้าทายของฉนวนที่บุตัวจรวดว่าจะทนทานต่อสภาพวิกฤติในอวกาศได้ตลอดภารกิจหรือไม่ทั้งนี้อินเดียมีแผนการส่งจรวดลูกที่สองไปยังดวงจันทร์ในระหว่างปี 2559 – 2560 และการส่งนักบินอวกาศไปยังอวกาศ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องรอรัฐบาลอนุมัติ
- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับเรา
- โครงการ
- งานศึกษา / ออกแบบสถาปัตยกรรม
- งานวิศวกรรมโยธา / โครงสร้าง
- งานควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง
- เศรษฐศาสตร์และการวางแผนพัฒนา
- งานศึกษาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
- โครงการในต่างประเทศ / เงินช่วยเหลือกองทุนต่างประเทศ
- การจัดการระบบข้อมูลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- งานวิศวกรรมเครื่องกล / ไฟฟ้า / อนุรักษ์พลังงาน
- งานวิศวกรรมพลังงาน / ปิโตรเคมี
- โครงการพิเศษ / การวิจัยและพัฒนา
- งานวิศวกรรมสำรวจ
- งานวิศวกรรมขนส่ง / สาธารณูปโภค
- การวางผังเมือง / ชุมชน
- งานศึกษาและวิศวกรรมแหล่งน้ำ
- สำนักวิชาการ ซี โอ ที (COT Academy)
- ข่าวสาร
- เอกสารเผยแพร่
- ตำแหน่งงานว่าง
- ติดต่อเรา