นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเข้าประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 โดยมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมด้วย อาทิ เช่น ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น โดยร่วมกันพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้ารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 3 ตัว ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเสต เพื่อให้ประชาชน เกษตรกร และผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย
โดยที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกใช้สารเคมี 2 ชนิด คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอสซึ่งถูกกำหนดเป็นวัตถุอันตรายชนิด 4 ที่ไม่อนุญาติให้มีการใช้โดยระหว่างนี้ไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนเพิ่ม ไม่ต่ออายุทะเบียน และต้องยุติการนำเข้าภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 และยุติการใช้สารเคมีทั้ง 2 ตัว ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มีเวลาเตรียมตัว และหาทางเลือกอื่นๆในการจัดการกับผลิตภัณฑ์คงค้างในตลาด
โดยความอันตรายของสารเคมีแต่ละตัว มีดังนี้
– พาราควอต เป็ยาพิษที่มีความรุนแรง ไม่มียาถอนพิษได้ มี 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้แล้ว
– คลอร์ไพริฟอส ทำให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาสมอง ไอคิวเด็กลดลง สมาธิสั้น กระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อ การเจริญเติบโต และเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน
– ไกลโฟเสต องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็ง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัลไซเมอร์ ฯลฯ
ดังนั้น ต้องกำหนดโซนการใช้ โดยงดใช้ในพื้นที่ใกล้กับโรงพยาบาล โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก
ที่มา : นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 39 ฉบับที่ 457
ลงประกาศวันที่ : 10 สิงหาคม 2560