สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากรุงเทพฯ
เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระกรุณาจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน แห่งที่ 2 ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จากพลังของผู้มีจิตศรัทธา ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนได้เป็นศูนย์รวมแห่งความเมตตาอาทรของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ร่วมใจเสียสละเพื่อประโยชน์ของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน
ที่มาของบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทราแห่งนี้ เกิดมาจากพลังของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในปี พ.ศ. 2528 มีเยาวชนตาบอดจำนวน 40 คน จากโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ได้อาสาเดินทางไกลการกุศล “ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง” ขอนแก่น – กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เป็นเวลากว่า 10 วัน ผลจากความวิริยะอุตสาหะของเยาวชนตาบอดในครั้งนั้นทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้สละทุนทรัพย์ประมาณ 3 ล้านบาท
ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฯได้นำมาจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน ยังผลให้มีแหล่งบริการเลี้ยงดูและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กตาบอดเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวไทย ทุกสาขาอาชีพ คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงได้มีความเห็นว่า ควรจะมีสถานศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กกลุ่มนี้จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทราขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่เกื้อกูลต่อคนพิการ การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 16 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก
รายละเอียดและช่องทางการบริจาค
ท่านสามารถเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะสร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนเหล่านี้ได้ โดย บริจาคทุนทรัพย์ บริจาคสิ่งของ เจ้าภาพเลี้ยงอาหาร แวะเยี่ยมให้กำลังใจน้องๆ
*การบริจาคทุนทรัพย์
เช็คสั่งจ่ายในนาม มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย
โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ สาขารามอินทรา
บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 187-3-08345-3
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 187-0-50438-6
ธนาคารกรุงไทย สาขารามอินทรา
บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 060-6-02568-5
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 060-1-10245-2
ธนาคารกสิกรไทย สาขารามอินทรา
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 088-2-89463-0
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามอินทรา
บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 076-3-03660-9
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 076-2-60628-1
ใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
(เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาแฟ็กซ์สำเนาใบโอน พร้อมชื่อ ที่อยู่ของผู้บริจาคมาที่ 02-943-6235 หรือ E-mail : cfbt.bkk@gmail.com เพื่อออกใบเสร็จรับเงินต่อไป)
*บริจาคสิ่งของ
– อาหารสด
– ผลไม้ตามฤดูกาล
– สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (ของที่ขาดแต่ละช่วงจะไม่เหมือนกัน)
*เจ้าภาพเลี้ยงอาหาร
– มื้อเช้า (เวลา 07.00 น.) 1,000 บาท
– มื้อกลางวัน (เวลา 11.30 น.) 2,000 บาท
– มื้อเย็น (เวลา 16.30 น.) 2,000 บาท
– และอาหารว่าง (เวลา 16.30 น.) เจ้าภาพต้องนำมาเอง แนะนำเป็นผลไม้ตามฤดูกาล
หมายเหตุ การเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารต้องมีการจองคิวล่วงหน้า ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่าง
*** หากท่านมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตามเบอร์ ***
โทร 02-510-3625 ,02-510-4895 โทรสาร 02-943-6235 E-mail : cfbt.bkk@gmail.com
ที่มา : http://cfbt.or.th/bkk/index.php
ลงประกาศวันที่ : 26 มิถุนายน 2561