ปลาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญชองอาหารโปรตีนและบรรจุอยู่ในเมนูอาหารที่โปรดปรานของคนไทยมาช้านาน มีคนตะ้งข้อสังเกตว่าทุกวันนี้คนในเมือง โดยเฉพาะมรกทม.และปริมณฑลบริโภคปลาน้ำจืดกันอยู่แค่ 4-5 ชนิด เป็นหลัก ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาช่อน และปลาดุก ส่วนปลาชนิดอื่นๆนั้น นับวันยิ่งหาได้ยากและราคาแพงขึ้น ในส่วนของปลาทะเลยอดนิยมคงหนีไม่พ้น “ปลาทู” ซึ่งกินคู่กับน้ำพริก ผัก แสนอร่อย จนกลายเป็นหนุ่งในอาหารยอดฮิตสำหรับคนไทย
ข้อมูลทางวิชาการ พบว่าในน่านน้ำไทยมีปลาทะเลกว่า 2,000 ชนิด ส่วนปลาน้ำจืดมีกว่า 720 ชนิด เอาแค่แม่น้ำโขงสายเดียว จากการสำรวจพบว่ามีพันธุ์ปลาน้ำจืดกว่า 300 ชนิด แต่ด้วยเหตุไฉนใดเล่า คนไทยจึงเหลืออาหารปลาที่พบหา ซื้อบริโภคได้ง่ายๆ อยู่แค่ไม่ถึง 10 อย่าง
จากการสำรวจของหลายหน่วยงาน ในแม่น้ำมูล ชี โขง ซึ่งเป็นสายเลือดหลักในภาคอีสาน พบว่าทุกวันนี้จำนวนปลาลดน้อยลงไปมาก ปลาบางชนิด เช่น ปลาเสือตอใหญ่ ปลาหางไหม้ ซึ่งเคยมีในแม่น้ำภาคกลางสูญพันธุ์ไปแล้ว การสร้างเขื่อนกั้นปากแม่น้ำมูล ปากแม่น้ำสงคราม ก็พบว่าทำให้ปลาหลายชนิด มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับผู้ที่ชอบบริโภคปลา มีข้อควรระวัง ดังนี้
1. การกินปลาดิบ จากปลาตระกูลปลาเกร็ดขาวทั้งหลาย มีความเสี่ยงที่จะได้รับไข่พยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งเป็นพาหะที่มำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี
2. การกินปลาในบางพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมหรือแปลงเกษตรเคมี พบว่ามีสารเคมีที่ไหลลงในแหล่งน้ำ ทำให้ปลาบางชนิดมียาฆ่าแมลง และโลหะหนักตระกูล ปรอท ตะกั่ว หรือสารหนู ในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐาน
3. ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารที่นิยมกินกันทั่วไป อาจต้องใส่ใจกับ Benzoic Acid (สารกันบูด) และ Nitrate (ดินประสิว) ที่ผสมไปเพื่อปรับรสชาติและยืดอายุการเก็บรักษา
4. ก้างปลาติดคอ การกินปลาต้องกินอย่างมีสติ เคี้ยวช้าๆ กลืนอย่างระมัดระวัง
5. การกินปลาปักเป้า ซึ่งมีสารพิษที่ทำให้เป็นอัมพาต หยุดหายใจ โดยคนกัมพูชาบริเวณโตนเลสาบกินปลาปักเป้ามานาน เพราะบางสายพันธุ์กินได้ แต่องค์ความรู้นี้ไม่มีในไทย
ข่าวประกาศฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
วันที่ 23 มิถุนายน 2560